analyticstracking
 
หัวข้อ   “ การทำหน้าที่ของ พล.อ. ประยุทธ์ ในฐานะนายกฯ บนเวทียูเอ็น
ปชช. 71.5 % เห็นว่าการทำหน้าที่ของนายกฯ ในเวทีการประชุมยูเอ็น ทำได้ค่อนข้างดีถึงดีมาก
77.3 % รู้สึกภูมิใจที่ไทยได้รางวัล ITU และนายกฯ ได้เป็นประธานกลุ่ม จี77
62.4% เห็นว่าเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นในปี 2560 ตามที่นายกฯ บอกกับนักลงทุนสหรัฐ
เป็น ช่วงเวลาที่เหมาะสมแล้ว
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ในช่วงวันที่ 23 กันยายน -1 ตุลาคม ที่ผ่านมา พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปร่วมการประชุม สมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 70
ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “การทำหน้าที่ของ พล.อ.ประยุทธ์
ในฐานะนายกฯ บนเวทียูเอ็น”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่รับทราบ
ข่าวการไปร่วมประชุมดังกล่าวของนายกรัฐมนตรี จำนวน 1,068 คน จากทุกภูมิภาค
ทั่วประเทศ พบว่า
 
                  ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.8 เห็นว่าการประชุมสหประชาชาติ
ครั้งนี้ ประชาคมโลกให้การยอมรับ พล.อ. ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรีจากประเทศไทย
มีเพียงร้อยละ 11.4 เท่านั้นที่เห็นว่าไม่ให้การยอมรับ ขณะที่ร้อยละ 20.8 ระบุว่าไม่แน่ใจ
 
                 ส่วนความคิดเห็นต่อการทำหน้าที่ของ พล.อ. ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี
ในเวทีการประชุมสหประชาชาติครั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 71.5 ระบุว่าทำได้ค่อนข้าง
ดีถึงดีมาก
รองลงมาร้อยละ 19.0 ระบุว่าทำได้พอใช้ มีเพียงร้อยละ 4.4 เท่านั้นที่เห็นว่า
ควรปรับปรุง
 
                 สำหรับความรู้สึกของประชาชนต่อการที่นายกรัฐมนตรี ในฐานะตัวแทนประเทศไทยได้รับรางวัล ITU
และได้รับเลือกให้เป็นประธานกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา หรือที่เรียกว่า “จี 77” พบว่า ประชาชนร้อยละ 77.3
รู้สึกภูมิใจ
ขณะที่ร้อยละ 21.2 รู้สึกเฉยๆ
 
                  เมื่อถามความเห็นต่อภาพรวมความสำเร็จในการเข้าร่วมประชุมสหประชาชาติของ พล.อ.ประยุทธ์
นายกรัฐมนตรี ครั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 59.5 เห็นว่าทำได้สำเร็จตามความคาดหมาย
และมีถึงร้อยละ 31.2 ที่เห็นว่า
สำเร็จเกินความคาดหมาย ที่เหลือร้อยละ 9.3 เห็นว่าสำเร็จน้อยกว่าความคาดหมาย
 
                  สุดท้ายเมื่อถามถึงการเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นในปี 2560 ตามที่นายกฯ บอกกับนักลงทุนสหรัฐว่า
เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 62.4 เห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมแล้ว
ขณะที่ร้อยละ
30.4 เห็นว่าไม่เหมาะสม ในจำนวนนี้ร้อยละ 18.0 เห็นว่าควรเร็วกว่าปี 2560 และร้อยละ 12.4 เห็นว่าควรช้ากว่าปี 2560
 
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. การประชุมสหประชาชาติครั้งนี้ ประชาคมโลกให้การยอมรับ พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี
                   จากประเทศไทย หรือไม่

 
ร้อยละ
ให้การยอมรับ
67.8
ไม่ให้การยอมรับ
11.4
ไม่แน่ใจ
20.8
 
 
             2. ความเห็นต่อการทำหน้าที่ของพล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี ในเวทีการประชุมสหประชาชาติครั้งนี้

 
ร้อยละ
ทำได้ค่อนข้างดีถึงดีมาก
71.5
ทำได้พอใช้
19.0
ควรปรับปรุง
4.4
ไม่แน่ใจ
5.1
 
 
             3. ความรู้สึกต่อการที่นายกรัฐมนตรี ในฐานะตัวแทนประเทศไทยได้รับรางวัล ITU และได้รับเลือก
                   ให้เป็นประธานกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา หรือที่เรียกว่า “จี 77”

 
ร้อยละ
รู้สึกภูมิใจ
77.3
รู้สึกเฉยๆ
21.2
ไม่แน่ใจ
1.5
 
 
             4. ความเห็นต่อภาพรวมความสำเร็จในการเข้าร่วมประชุมสหประชาชาติครั้งนี้ของ พล.อ.ประยุทธ์
                   นายกรัฐมนตรี

 
ร้อยละ
สำเร็จเกินความคาดหมาย
31.2
สำเร็จตามความคาดหมาย
59.5
สำเร็จน้อยกว่าความคาดหมาย
9.3
 
 
             5. การเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นในปี 2560 ตามที่นายกฯ บอกกับนักลงทุนสหรัฐ เป็นช่วงเวลา
                   ที่เหมาะสมหรือไม่

 
ร้อยละ
เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม
62.4
เป็นช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม
  ควรเร็วกว่าปี 2560   ร้อยละ 18.0
  ควรช้ากว่าปี 2560   ร้อยละ 12.4
30.4
ไม่แน่ใจ
7.2
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                 เพื่อสำรวจความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการไปร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติของนายกรัฐมนตรี
ในเรื่อง การทำหน้าที่ผู้นำของประเทศไทยในเวทีระดับโลก ความรู้สึกจากการที่ประเทศไทยได้รับรางวัล ITU
และการได้รับเลือกให้เป็นประธานกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ตลอดจนความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมประชุม
เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการ
ถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 1 -2 ตุลาคม 2558
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 3 ตุลาคม 2558
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
574
53.7
             หญิง
494
46.3
รวม
1,068
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
87
8.1
             31 – 40 ปี
232
21.7
             41 – 50 ปี
336
31.5
             51 – 60 ปี
253
23.7
             61 ปีขึ้นไป
160
15.0
รวม
1,068
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
633
59.3
             ปริญญาตรี
331
31.0
             สูงกว่าปริญญาตรี
104
9.7
รวม
1,068
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
156
14.6
             ลูกจ้างเอกชน
246
23.0
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
419
39.3
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
63
5.9
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
163
15.3
             นักเรียน/ นักศึกษา
10
0.9
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
11
1.0
รวม
1,068
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776